เมนู

1. อคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)
2. ตสมึ เสวนจิตตํ (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น)
3. เสวนปฺปโยโค (พยายามเสพ)
4. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรคให้ถึง
มรรค)
ประโยคของมิจฉาจารนั้น มีหนึ่งคือ สาหัตถิกปโยคะเท่านั้น.

ว่าด้วยมุสาวาท



ความพยายามทางวาจา (วจีปโยคะ) หรือความพยายามทางกายอัน
ทำลายประโยชน์ ของบุคคลผู้มุ่งกล่าวให้ขัดแย้งกัน ชื่อว่า มุสา. ก็เจตนา
อันให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายหรือทางวาจาที่มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน
เป็นอย่างอื่น ของบุคคลอื่น โดยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่า
มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่เป็นจริง ไม่ใช่ของแท้ ชื่อว่า มุสา. การให้
บุคคลรู้เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้น โดยภาวะว่าจริง ว่าแท้ เรียกว่า วาทะ ก็ว่าโดย
ลักษณะ เจตนาที่ให้ตั้งขึ้นด้วยเคลื่อนไหวอย่างนั้น ของบุคคลผู้ประสงค์ให้คน
อื่นรู้ถึงเรื่องไม่จริงแท้ เรียกว่า มุสาวาท.
มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ผู้พูดทำลาย
ประโยชน์นั้นน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะทำลายประโยชน์มาก. อีกอย่างหนึ่ง
มุสาวาทของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ไม่มีดังนี้ เพราะประสงค์
จะไม่ให้วัตถุที่มีอยู่ของตน ชื่อว่า มีโทษน้อย. มุสาวาทที่ตนเป็นพยาน
กล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ ชื่อว่า มีโทษมาก. มุสาวาทของบรรพชิตทั้งหลาย
ที่เป็นไปโดยนัยปูรณกถาว่า น้ำมันในบ้าน วันนี้เห็นทีจะไหลไปเหมือนแม่น้ำ
โดยประสงค์จะหัวเราะกันเล่น เพราะน้ำมันหรือเนยใสเพียงเล็กน้อย ชื่อว่า

มีโทษน้อย แต่มุสาวาทของบรรพชิตผู้กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ไม่เห็นเลยว่า
เห็น ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษมาก. (องค์) ของนี้มุสาวาทนั้น มี 4 อย่าง คือ
1. อตถํ วตฺถุ (เรื่องไม่จริง)
2. วิสํวาทนจิตฺตํ (คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน)
3. ตชฺโช วายาโม (พยายามเกิดด้วยความคิดนั้น)
4. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ (คนอื่นรู้เนื้อความนั้น)
ประโยคของมุสวาทมีอย่างเดียว คือสาหัตถิกปโยคะเท่านั้น. มุสาวาท
นั้นพึงทราบโดยการกระทำกิริยาของผู้กล่าวให้คลาดเคลื่อนด้วยกาย หรือด้วย
ของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา. ถ้าบุคคลอื่นรู้เนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น
เจตนาอันตั้งขึ้นด้วยกิริยานี้ ย่อมผูกพันโดยกรรมที่เป็นมุสาวาทในขณะนั้น
ทีเดียว. อนึ่ง เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงกล่าวแก่บุคคลนี้ ดังนี้ก็ดี เมื่อเขียน
หนังสือทิ้งไปข้างหน้าก็ดี เมื่อเขียนติดไว้ที่ข้างฝาเรือนเป็นต้นโดยประสงค์ว่า
บุคคลนี้พึงทราบอย่างนี้ก็ดี โดยประการที่ให้บุคคลอื่นกล่าวให้คลาดเคลื่อนจาก
กาย หรือจากวัตถุเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา เพราะฉะนั้น แม้ประโยคทั้งหลาย
คือ อาณัตติปโยคะ นิสสัคคิยปโยคะ ถาวรปโยคะ ก็ย่อมสมควรในมุสาวาทนี้
แต่เพราะไม่มีมาในอรรถกถาทั้งหลาย จึงควรพิจารณาก่อนแล้วถือเอา.

ว่าด้วยปิสุณาวาจาเป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในปิสุณาวาจาเป็นต้น
บุคคลย่อมกล่าววาจาก่อนบุคคลใดย่อมกระทำความรักของตนในหัวใจ
ของบุคคลนั้น ให้เกิดการป้ายร้ายแก่บุคคลอื่น วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.
ก็วาจาใด ย่อมกระทำความหยาบคายให้ตนบ้าง ให้ผู้อื่นบ้าง วาจานั้น ชื่อว่า
ผรุสวาจา. อีกอย่างหนึ่ง วาจาใด ทำความหยาบคายเอง ไม่เพราะหู ไม่จับใจ